วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คีย์บอร์ด




คีย์บอร์ด

เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ
จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่


พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่อักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือน
อ้างอิง http://www.bngmusicthailand.com

จอภาพ


จอภาพ (Monitor)
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต
การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ
จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม
สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) Thin Flim Transistor (TFT)
จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบDSTN


ข้อควรจำ
ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ

เน็ตเวิร์ก



เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network)


คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้
ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
เครือข่าย (network) เป็นการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ
แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ
แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ
แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ
แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ
แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
อ้างอิง www.companyinthailand.com/

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เมาส์

กำเนิดของเมาส์
เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดยดักลัส เองเกลบาท (Douglas Engelbart) ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์ เคยมีอีกชื่อหนึ่งว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)


มีหลายประเภท เช่น อินฟราเรด ต่อในปี ค.ศ.1997 เมาส์คลื่นวิทยาจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีรูปร่างหน้าตาที่แปลกออกไป
จนในปี ค.ศ. 1997 การประดิษฐ์เมาส์ได้รับการพัฒนาอย่างมากในด้านของคุณภาพการใช้งานและความสะดวกสบายต่อผู้ใช้มากขึ้น เช่น รูปร่างของเมาส์มีความสะดวกในการสัมผัสมากขึ้นและพัฒนาให้สามารถใช้งานได้กับอินเทอร์เน็ตโดยมีตัวเลื่อน (Scroller) อยู่บนเมาส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเลื่อนหน้าจอ และในอนาคตเมาส์จะมีการพัฒนาให้มีความสะดวกในการใช้และการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์Input กับ Bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์และมีการพัฒนาไปใช้ระบบสัญญาณแบบดิจิทัลในการทำงานมาก เมาส์ในปัจจุบันได้รับรูปแบบมาจาก ?cole polytechnique f?d?rale de Lausanne (EPFL) ภายใต้แรงบันดาลใจของ ศาสตราจารย์ Jean-Daniel Nicoud ร่วมกับวิศวกรและช่างนาฬิกาชื่อ Andr? Guignard ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้ทำให้เกิดบริษัท โลจิเทค (Logitech) ผลิตเมาส์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นยี่ห้อแรก (วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี 2549)


เมาส์คอมพิวเตอร์
การทำงานของเมาส์
ส่วนประกอบภายใจของเมาส์โดยทั่วไปจะเป็นลูกบอลยางทรงกลม ซึ่งทำมาจากลูกเหล็กและหุ้มยางเอาไว้ เพื่อให้ลูกบอลยางมีน้ำหนักและติดหนึบกับแผ่นรองเมาส์ นอกจากนั้นยังมีลูกกลิ้งทรงกระบอก 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากกัน สำหรับใช้ในการระบุทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ในแนว ซ้าย-ขวา บน-ล่าง (แกน X , Y) ที่ปลายของลูกกลิ้งทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกสีดำลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบนบางเจาะช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามแนวรัศมีของวงกลมและมีอุปกรณ์ตรวจจับแสง (photo detector) ติดกับอุปกรณ์ตรวจจับแสงจะประกอบด้วย LED จะมีสวิตซ์ของปุ่มคลิกเมาส์และแผงวงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์(Micro controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสวิตซ์และอุปกรณ์รับแสงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลสำหรับอินเทอร์เฟส (Interface) กับคอมพิวเตอร์
การทำงานของเมาส์ คือ การเลื่อนเมาส์ ลูกบอลยางก็จะหมุนกลิ้งไปตามทิศทางของเมาส์ที่เลื่อนไปซึ่งการหมุนของลูกบอลยางจะมีผลให้ลูกกลิ้งหมุนตามได้ด้วยในแนวแกน (X , Y) ซึ่งการหมุนของลูกกลิ้งก็จะส่งผลให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายหมุนตามไปด้วยเช่นกัน การหมุนของแผ่นพลาสติกทำให้แสงจาก LED ที่อุปกรณ์รับแสงได้รับแตกต่างกันไปตามมุมองศาของการหมุนตัวรับแสงก็จะส่งสัญญาณที่แตกต่างกันไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller) ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้มีการเคลื่อนตำแหน่งของเมาส์ไปในทิศทางและระยะทางเท่าใด(สหัสญา บุญสวัสดิ์ 2543 : 68-69)
เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)
รูปแสดงลักษณะการทำงานของเมาส์
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(2549)ได้สรุปลักษณะการทำงานของเมาส์ได้ดังนี้
1.เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน ดักลาส เองเกลบาทเมาส์คอมพิวเตอร์ตัวแรก
เมาส์ตัวแรกนั้นเทอะทะและใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลให้เป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาท ได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1970 ชื่อ X –Y Position Indicator For A Display System (การระบุตำแหน่ง X –Y สำหรับระบบแสดงผล) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
เมาส์คอมพิวเตอร์ตัวแรก โดย ดักลาส เองเกลบาทแสดงการทำงานของล้อหมุนของเมาส์
เมาส์แบบต่อมาถูกประดิษฐ์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดย บิล อิงลิช (Bill English) ที่ศูนย์วิจัยของบริษัท ซีรอกส์ (Xerox PARC) โดยแทนที่ล้อหมุนด้วยลูกบอลซึ่งสามารถหมุนไปได้ทุกทิศทาง การเคลื่อนไหวของลูกบอลจะถูกตรวจจับโดยล้อเล็กๆ ภายในอีกทีหนึ่ง เมาส์ชนิดนี้คล้าย ๆ กับแทร็กบอล (Track ball) และนิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตลอดทศวรรษที่ 1980 และ 1990 ทำให้การใช้เมาส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกันสามารถเป็นจริงได้ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549) ในปี ค.ศ. 1987 มีการปรับปรุงลักษณะภายนอกของเมาส์ ให้มีลักษณะมน มีปุ่ม 2 ปุ่ม ซึ่งกล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายก้อนสบู่
และในปี ค.ศ. 1989 เมาส์ได้พัฒนามาถึงขั้น Trackball หรือ BallPoint ซึ่งเป็นเมาส์ที่ผู้ใช้เลื่อนลูกบอลด้วยนิ้ว คือ เอาลูกบอลมาไว้ด้านบนเป็น Trackball อันแรกที่ใช้กับ Laptops จากนั้นจึงพัฒนาจนสามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จนช่วงที่คอมพิวเตอร์ Laptops ได้รับความสนใจจึงสร้าง Touch Pad หรือ Touch mouse ขึ้นในปี ค.ศ. 1995 เป็นเมาส์ที่ไม่มีลูกบอลหรือลูกกลิ้งเป็นส่วนประกอบแต่จะมีตัวเซ็นเซอร์การกดของนิ้ว ซึ่งเมาส์ประเภทนี้ยังคงใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันด้วย
ต่อมาก็มีการพัฒนาเมาส์ไร้สาย (Cordless mouse
อ้างอิง http://www.student.chula.ac.th/~48802345/mouse-born.html

http://share.psu.ac.th/blog/com-by-ple/4713